analyticstracking
หัวข้อ   “ คนไทยกับการเดินทางช่วงหยุดยาวปีใหม่ไทย 2564
คนไทยถึงร้อยละ 45.4 ตั้งใจเดินทางในช่วงหยุดยาวสงกรานต์ โดยจะเดินทางไปทำบุญมากที่สุด
ผู้เดินทางส่วนใหญ่ร้อยละ 63.1 ไม่ได้วางแผนการเดินทาง
ประชาชนเชื่อมั่นมากต่อหน่วยงานภาครัฐในการใช้มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน 5 ด้าน
เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วง 7 วันอันตราย
ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.2 ทราบเกี่ยวกับกฎกระทรวงกำหนดความเร็วใหม่
เชื่อมั่นน้อยต่อกฎความเร็วรถจักยานยนต์ 400 cc ขึ้นไป ไม่เกิน 100 กม./ชม. จะสร้างความปลอดภัย
ให้แก่ผู้เดินทาง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยกับการเดินทางช่วงหยุดยาวปีใหม่ไทย
2564” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,170 คน
พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 54.6 ตั้งใจจะอยู่บ้านไม่ออกไปไหนในช่วงหยุดยาว
สงกรานต์ปีใหม่ไทย
ขณะที่ร้อยละ 45.4 ตั้งใจจะเดินทาง โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 29.8
จะเดินทางไปทำบุญ ร้อยละ 16.8 จะเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดตนเอง และร้อยละ 13.1
จะเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามผู้ที่ตั้งใจเดินทางว่ามีการวางแผนจะเดินทางในช่วง
หยุดยาวสงกรานต์ปีใหม่ไทยหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.1 ไม่มีการวางแผน
ไปตามปกติ
ขณะที่ร้อยละ 36.9 มีการวางแผน โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 19.8 วางแผน
เดินทางไปก่อนเทศกาลหรือก่อนวันที่นักท่องเที่ยวเดินทาง ร้อยละ 8.8 วางแผนหลีกเลี่ยง
เส้นทางหลักที่มีการจราจรหนาแน่น และร้อยละ 8.3 วางแผนเดินทางไปหลังวันที่
นักท่องเที่ยวเดินทางหรือคนนิยมเดินทาง
 
                 เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานภาครัฐในการใช้มาตรการป้องกัน
และลดอุบัติเหตุทางถนน 5 ด้านอย่างจริงจัง เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วง 7 วันอันตราย พบว่า
ในภาพรวมประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่น 3.47 คะแนนจากเต็ม 5 คะแนน ซึ่งแปลผลว่ามีความเชื่อมั่นมาก
โดยด้านที่เชื่อมั่นมากที่สุดคือ การเตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ 3.99 คะแนน
ส่วนด้าน
ที่เชื่อมั่นน้อยที่สุดคือ การลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อมได้ 3.22 คะแนน
 
                  ด้านการรับทราบเกี่ยวกับกฎกระทรวงกำหนดความเร็วใหม่ ในทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท
พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.2 ทราบเกี่ยวกับกฎกระทรวงกำหนดความเร็วใหม่
ขณะที่ร้อยละ 41.8 ไม่ทราบ
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อกฎกระทรวงกำหนดความเร็วใหม่ในทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวง
ชนบท จะสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้เดินทาง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์มากน้อยเพียงใดพบว่า ในภาพรวม
ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่น 3.12 คะแนนจากเต็ม 5 คะแนน ซึ่งแปลผลว่ามีความเชื่อมั่นปานกลาง โดย
กฎความเร็วใหม่ที่ประชาชนเชื่อมั่นมากที่สุดคือรถยนต์วิ่งเลนขวา ไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม. และรถโดยสาร ไม่เกิน
100 กม./ชม. โดยได้คะแนน 3.32 คะแนนเท่ากัน
ขณะที่รถจักยานยนต์ 400 cc ขึ้นไป ไม่เกิน 100 กม./ชม.
ได้คะแนนน้อยที่สุด 2.80 คะแนน
 
 
                  รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “ท่านจะเดินทางในช่วงหยุดยาวสงกรานต์ปีใหม่ไทยหรือไม่”

 
ร้อยละ
ตั้งใจจะอยู่บ้านไม่ออกไปไหน
54.6
ตั้งใจจะเดินทาง
โดย จะเดินทางไปทำบุญ ร้อยละ 29.8
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) จะเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดตนเอง ร้อยละ 16.8
จะเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด ร้อยละ 13.1
จะเดินทางไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด ร้อยละ 7.7
จะเดินทางไปต่างประเทศ ร้อยละ 0.2
อื่นๆ อาทิเช่น ยังไม่แน่ใจ ร้อยละ 1.8
45.4
 
 
             2. การวางแผนจะเดินทางในช่วงหยุดยาวสงกรานต์ปีใหม่ไทย (ถามเฉพาะผู้ที่ตั้งใจเดินทาง)

 
ร้อยละ
ไม่มีการวางแผนไปตามปกติ
63.1
มีการวางแผน
โดย วางแผนเดินทางไปก่อนเทศกาล
หรือก่อนวันที่นักท่องเที่ยวเดินทาง
ร้อยละ
19.8
วางแผนหลีกเลี่ยงเส้นทางหลักที่มีการจราจรหนาแน่น ร้อยละ 8.8
วางแผนเดินทางไปหลังวันที่นักท่องเที่ยว
เดินทางหรือคนนิยมเดินทาง
ร้อยละ
8.3
36.9
 
 
             3. ความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานภาครัฐในการใช้มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน 5 ด้าน
                 อย่างจริงจัง เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วง 7 วันอันตราย


ด้าน
ความเชื่อมั่น
(คะแนน)
การเตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยจัดเตรียมความพร้อมโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล หน่วยกู้ชีพ กู้ภัย
3.99
การที่ผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้ง “ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์”
3.53
การบริหารจัดการ อาทิ จัดตั้งศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
3.36
การลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ ด้วยการกำกับ ควบคุม ดูแลรถโดยสาร
สาธารณะ รถโดยสารไม่ประจำทาง พนักงานขับรถ และพนักงานประจำรถ
3.27
การลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม ด้วยการตรวจสอบลักษณะ
กายภาพถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
3.22
เฉลี่ยรวม
3.47

ซึ่งทำให้ได้เกณฑ์สำหรับการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.21 – 5.00 หมายถึง   มีความเชื่อมั่นมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.41 – 4.20 หมายถึง   มีความเชื่อมั่นมาก
ค่าเฉลี่ย 2.61 – 3.40 หมายถึง   มีความเชื่อมั่นปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.81 – 2.60 หมายถึง   มีความเชื่อมั่นน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.80 หมายถึง   มีความเชื่อมั่นน้อยที่สุด
 
 
             4. การรับทราบเกี่ยวกับกฎกระทรวงกำหนดความเร็วใหม่ ในทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท

 
ร้อยละ
ทราบ
58.2
ไม่ทราบ
41.8
 
 
             5. ความเชื่อมั่นต่อกฎกระทรวงกำหนดความเร็วใหม่ในทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท
                 จะสร้างความปลอดภัย ให้แก่ผู้เดินทาง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์มากน้อยเพียงใด


กฎกระทรวงกำหนดความเร็วใหม่
ความเชื่อมั่น
(คะแนน)
รถยนต์วิ่งเลนขวา ไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม.
3.32
รถโดยสาร ไม่เกิน 100 กม./ชม.
3.32
รถบรรทุก ไม่เกิน 90 กม./ชม.
3.15
รถยนต์ไม่เกิน 120 กม./ชม.
3.13
รถจักยานยนต์ ไม่เกิน 80 กม./ชม.
2.99
รถจักยานยนต์ 400 cc ขึ้นไป ไม่เกิน 100 กม./ชม.
2.80
เฉลี่ยรวม
3.12
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนถึงการเดินทางในช่วงหยุดยาวสงกรานต์ปีใหม่ไทย (10 – 16 เม.ย. 64)
                  2) เพื่อสะท้อนถึงการวางแผนจะเดินทางในช่วงหยุดยาวสงกรานต์ปีใหม่ไทย
                  3) เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานภาครัฐในการใช้มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน 5 ด้าน
                      อย่างจริงจัง เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วง 7 วันอันตราย
                  4) เพื่อสะท้อนถึงการรับทราบเกี่ยวกับกฎกระทรวงกำหนดความเร็วใหม่ ในทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท
                  5) เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อกฎกระทรวงกำหนดความเร็วใหม่ จะสร้างความปลอดภัย
                      ให้แก่ผู้เดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์มากน้อยเพียงใด
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 22 – 24 มีนาคม 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 10 เมษายน 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
578
49.4
             หญิง
592
50.6
รวม
1,170
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
84
7.2
             31 – 40 ปี
169
14.4
             41 – 50 ปี
306
26.2
             51 – 60 ปี
332
28.4
             61 ปีขึ้นไป
279
23.8
รวม
1,170
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
650
55.5
             ปริญญาตรี
381
32.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
139
11.9
รวม
1,170
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
169
14.4
             ลูกจ้างเอกชน
230
19.7
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
421
36.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
52
4.4
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
256
21.9
             นักเรียน/ นักศึกษา
18
1.5
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
23
2.0
รวม
1,170
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898